วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

hyperventilation syndrome กลุ่มอาการหายใจเกิน

หลายครั้งในการทำงานเป็นหมอ เราจะพบคนไข้มาแบบฉุกเฉินนอนเปลมาเลย มาด้วยอาการเหนื่อยหายใจไม่ทัน มือเท้าชา มือเท้าจีบเกร็ง เหมือนจะเป็นลมหมดสติ (เกือบจะเป็นลม)

เมื่อตรวจร่างกายก็ไม่พบอะไรผิดปกติ สัญญาณชีพยังอยู่ในเกณฑ์ดี ความดันดี ที่น่าสนใจก็คือ มักจะหายใจเร็วมาก หายใจตั้ง 20 กว่าครั้งในหนึ่งนาที (คนปกติหายใจสักประมาณ 6-10 ครั้งต่อนาที) พอเราตรวจปอดก็ไม่พบอะไรผิดปกติ ไม่ไอ ไม่มีเสียงหอบหืด มีแต่อาการหายใจเร็ว


คนไข้ในกลุ่มนี้จะทุรนทุรายมาก
พวกหมอเราได้เรียนมา ก็จะทราบว่านี่เป็นอาการหายใจเร็วเกินไป hyperventilation syndrome ญาติมิตรพาส่ง รพ. น่ะถูกต้องแล้ว แต่เราจะแก้ไขอย่างไรให้หาย? ถึงแม้โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทิ้งไว้ให้เป็นไปเรื่อยๆ ก็จะยิ่งเป็นมากขึ้น จากเดิมที่แค่ชามือ ชาเท้า ก็จะเปลี่ยนเป็นมือหงิก เท้าเกร็ง (เกร็งมากจริงๆนะครับ ไม่ได้แกล้ง และแกะยังไงก็ไม่ออก) คนไข้ยิ่งตกใจกลัว ก็จะยิ่งหายใจหอบถี่ขึ้น ทำให้อาการยิ่งเป็นมากขึ้น

กลไกการเกิดโรคนี้ที่ทำให้เกิดอาการมืดจีบเกร็ง

อาการที่กล่าวมา อาจทำให้ถึงกับหน้ามืด เวียนหัว หมดสติ และชักไปจริงๆ ก็ได้ ถ้าเราไม่รักษา

โดยทั่วไปแพทย์มักจะให้ยาที่มีฤทธิระงับประสาท และทำให้นอนหลับ อาจเป็นกลุ่มยาฉีด (เพราะคนไข้เป็นมาก ไม่สามารถกลืนยาได้) หรือยากินก็ได้ เมื่อคนไข้ได้นอนพัก อาการก็จะหายไปได้เอง

สำหรับการปฐมพยาบาลกันเองนั้น เราแนะนำให้หายใจเข้าออกในถุง เป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดขึ้นมาบ้าง อาการจีบเกร็งชา จะได้บรรเทาลง เมื่อพบว่าการรักษาแบบนี้ดีขึ้น คนไข้้ก็จะคลายความกลัวไป แล้วทุกอย่างก็กลับสู่สภาพปกติ
ผมเองก็รู้จักโรคนี้พอสมควร ในมุมมองของจิต ปัญหามันเกิดจากความคิดของเรา ทำให้เกิดอาการทางกาย ยิ่งเป็นก็ยิ่งคิดยิ่งกังวล เกิดความกลัว พอหมอฉีดยานอนหลับให้หลับไป ก็เท่ากับไปตัดกระบวนการคิด ให้ร่างกายได้พักผ่อน โรคจะหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอื่นเลย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความคิด ว่าสามารถทำให้ร่างกายป่วยได้อย่างไร
เราไม่สามารถหยุดกระบวนการคิดซ้ำๆลงได้ เพราะมันหมุนแรงมาก คนที่มีพลังสติเยอะ จึงจะสามารถหยุดภาวะ hyperventilation syndrome ได้เอง (โดยทั่วไปก็คงไม่ปล่อยให้เป็นมากจนเกิดแบบนี้) การใช้ยานอนหลับเปรียบเสมือนการเข้าสมาธิให้จิตใจได้พักผ่อน ดังนั้นคนทั่วๆไปควรฝึกสมาธิเอาไว้ เพื่อเป็นการให้จิตได้พัก